วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 4
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2559 
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมแรกของการเรียนวันนี้คือ อาจารย์ให้เล่น เกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสาร

เกมที่หนึ่ง เกมสื่อความหมาย







เกมที่สอง เกมพรายกระซิบ



เกมที่สาม เกมทายคำ




เกมที่สี่ เกม ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร





บทที่
การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวั




ความหมายของการสื่อสาร                                                                                                                  การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารมีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ 


ความสำคัญของการสื่อสาร          
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต 

     

       รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล

                                              (Aristotle’s Model of Communication)                                                              

รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล
(Lasswell’s Model of Communication)


       รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์
(
Shannon & Weaver’s Model of Communication)

          รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์
 
(C.E Osgood and Willbur Schramm’s )



       รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล
 
(Berlo’s Model of Communication) 
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
• ผู้จัดกับผู้ชม
• ผู้พูดกับผู้ฟัง
• ผู้ถามกับผู้ตอบ
• คนแสดงกับคนดู
• นักเขียนกับนักอ่าน
• ผู้อ่านข่าวกับคนฟังข่าว
• คนเล่านิทานกับคนฟังนิทาน

สื่อ  
        ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธี  การติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน   คลื่นวิทยุโทรทัศน์ ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้  พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ
สาร  
        คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริง  ข้อแนะนำ  การล้อเลียน  ความปรารถนาดี     ความห่วงใย  มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ  และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม
ประเภทของการสื่อสาร 
       ได้มีจำแนกประเภทของการสื่อสารไว้แตกต่างกันหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ในที่นี้จะแสดงการจำแนกประเภทของการสื่อสาร โดยอาศัยเกณฑ์ในการจำแนกที่สำคัญ  3 ประการ คือ
1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร

ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
• เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
• เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
• มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
• เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
• เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
• ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
• เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร
• ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี เช่นใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจ หรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
• ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
• ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้สื่อความหมายผิดๆ
• ข้อมูลที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอน
• เลือกใช้เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม
• รีบเร่งด่วนสรุปข่าวสารเร็วเกินไป ขาดการไตร่ตรอง
• ผู้รับข่าวสารไม่ทบทวน หรือสอบถามให้เข้าใจเมื่อสงสัย
• อารมณ์ของผู้รับ หรือผู้ส่งอยู่ในสภาพไม่ปกติ
• ผู้ส่งหรือผู้รับมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

7 c กับการสื่อสารที่ดี
• Credibility ความน่าเชื่อถือ : สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือในสารนั้น ๆ
• Content เนื้อหาสาระ : มีสาระให้เกิดความพึงพอใจ เร่งเร้าและชี้แนะให้เกิดการตัดสินใจได้ในลักษณะอย่างไรบ้าง
• Clearly ความชัดเจน : การเลือกใช้คำหรือข้อความที่เข้าใจง่าย ๆ ข้อความไม่คลุมเครือ
• Context ความเหมาะสมกับโอกาส : การเลือกใช้ภาษาและใช้สิ่งที่ส่งสารเหมาะสม
• Channel ช่องทางการส่งสาร : การเลือกวิธีการส่งข่าวสารได้เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด
• Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน : การสื่อสารกระทำอย่างต่อเนื่องมีความแน่นอนถูกต้อง
• Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร : การเลือกใช้วิธีการส่งสารซึ่งมั่นใจว่าผู้รับสารจะสามารถรับสารได้ง่ายและสะดวกโดยคำนึงถึงความรู้ เจตคติ อุปนิสัย ทักษะการใช้ภาษา สังคมวัฒนธรรมของผู้รับสารเป็นสำคัญ

คุณธรรมที่สำคัญในการสื่อสาร
• ความมีสัจจะและไม่ล่วงละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน
• ความรัก ความเคารพและความปรารถนาดีต่อกัน
• ความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนพูดหรือกระทำ
• เป็นพฤติกรรมด้านนอกของการสื่อสาร หมายถึงพฤติกรรมที่ปรากฏให้เห็นชัดเจน 
• เป็นกิริยาวาจาที่เรียบร้อยถูกต้องตามคตินิยมของสังคม

วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง
- ศึกษาและพยายามทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง
- พยายามเรียนรู้ความต้องการของเขา และหาแนวทางตอบสนองตามความเหมาะสม
- พูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ
- หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครอง
- ทำตนให้กลมกลืนกับผู้ปกครอง
- มีท่าทีเป็นมิตรอยู่เสมอ
- เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม
สรุป
               การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน ประกอบกับการศึกษาธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็ก
ร่วมกัน



คำถามท้ายบทที่ 3

1. จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป                         
ตอบ ความหมาย = การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก ผู้ส่ง  ข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับ  มา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ 
         ความสำคัญ = ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม , ทำให้เกิดความ เข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย , ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น   
                                                 
2. การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน

3. รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง  
ตอบ   รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication) เพราะเป็นรูปแบบที่เกี่ยวข้องในการให้ความรู้ผู้ปกครองมากที่สุด
                                                                                                                                  
4. ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร                                              ตอบ  
- ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
- ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
- ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
- การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
- การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด
- ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้จากกันและกัน
- การให้ความรู้กับผู้ปกครองถือเป็นการให้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ปกครอง 

5. ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง   
ตอบ    
1. ความพร้อม    
2. ความต้องการ   
3. อารมณ์และการปรับตัว     
4. การจูงใจ                                                       
5. การเสริมแรง      
6. ทัศนคติและความสนใจ      
7. ความถนัด


การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

การบันทึกครั้งที่ 3
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2559 

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ประชุม


วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2559 
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์สอนในเรื่อง
หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
          การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยถือเป็นนโยบายที่สำคัญประการหนึ่งของการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน การให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจะช่วยทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองได้เรียนรู้และเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการพัฒนาเด็ก ทำให้ดำเนินงานทางการศึกษาระหว่างบ้านกับโรงเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 
ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
Linda  Bierstecker, 1992  กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง (parent education)  หมายถึง การให้ผู้ปกครองได้เข้าใจว่าเด็กได้ทำกิจกรรมอะไรที่โรงเรียนอนุบาลหรือศูนย์เด็ก เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจวิธีการที่จะช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
ฉันทนา  ภาคบงกช (2531)  กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นการทำความเข้าใจและสร้างทัศนคติที่ถูกต้องในการอบรมเลี้ยงดู ตลอดจนบทบาทหน้าที่ในการร่วมมือกันพัฒนาเด็กโดยใช้สื่อต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเด็กสำคัญ ดังนี้
    1. เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติและความต้องการของเด็ก โดยอาศัยพื้นฐานความรู้ และทฤษฏีเกี่ยวกับจิตวิทยาของเด็ก
     2. เพื่อให้สามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ แก่เด็กได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับทางโรงเรียน
สรุปได้ว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งในและนอกระบบ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต
ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
Verna, 1972  กล่าวว่า การให้ความรู้ผู้ปกครอง จะช่วยให้ผู้ปกครองเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาซึ่งกันและกัน อันจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งต่อกัน ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กเกิดความสับสน
Galen,  1991  กล่าวว่า การให้ความรู้ผู้ปกครอง จะช่วยให้ผู้ปกครองได้รับข้อมูลที่ดีในการเลี้ยงดู และการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการศึกษาของผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จได้
สรุปความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่มีต่อการศึกษาเด็กปฐมวัย สรุปได้ดังนี้
    1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
    2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
    3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
    4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
    5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง
วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
Linda  Bierstecker, 1992  ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองไว้ ดังนี้
    1. เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจวิธีดูแลเด็กและการจัดกิจกรรมของโรงเรียน
    2. เพื่อให้ผู้ปกครองและครูประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาเด็กร่วมกัน
    3. เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงความต้องการของเด็กและสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านได้อย่างถูก
สรุปวัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง 
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยสรุปมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
    1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
    2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
    3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
    4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
    5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน
รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
การจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา การให้ความรู้ผู้ปกครอง จึงมีความสำคัญที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ดำเนินงาน เพื่อจัดรูปแบบในการให้ความรู้เพื่อเข้าถึงเป้าหมาย รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการดังนี้
    - การให้ความรู้แบบทางการ (formal)  เช่น การบรรยาย  การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
    - การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย
แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ฉันทนา  ภาคบงกช (2531) ได้เสนอแนวทางในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไว้ดังนี้
    1. สำรวจความสนใจ ความต้องการ รวมทั้งปัญหาต่างๆ ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก โดยการสัมภาษณ์หรือใช้แบบสอบถาม
    2. จัดบริการต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ปกครอง เช่น   - เชิญวิทยากรมาบรรยาย  อภิปราย สาธิต
    - จัดห้องสมุดและศูนย์ของเล่นสำหรับเด็ก
    - จัดศูนย์แนะแนวผู้ปกครองเพื่อให้คำแนะนำ
    - จัดตั้งชมรมหรือสมาคมผู้ปกครอง
แนวปฏิบัติของสถานศึกษา
ในการจัดกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง สถานศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ผู้ปกครองได้ประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ ดังนั้นสถานศึกษาควรมีแนวปฏิบัติดังนี้
  1. รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
  2. ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก ไม่ใช้เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
  3. ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง
   ผู้ปกครองถือเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโต พัฒนาการ การเรียนรู้ การปลูฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็กปฐมวัย การที่ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ก็จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตตั้งแต่เริ่มต้น การให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานทุกฝ่าย เพื่อดำเนินการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้ผู้ปกครอง หน่วยงานที่มีบทบาทหลักในการให้ความรู้  แก่ผู้ปกครองคือ สถานศึกษา ซึ่งจะต้องดำเนินการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ การจัดการศึกษาของสถานศึกษา บทบาทของผู้ปกครองกับการศึกษาของเด็กทั้งที่บ้านและสถานศึกษา โดยดำเนินการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยเลือกรูปแบบวิธีการ   ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการศึกษาของผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครอง   รับประโยชน์สูงสุด ประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ บ้านเป็นฐานการเรียนรู้ โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ และชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้

คำถามท้ายบทที่ 2

1.การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองมีความสำคัญอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ 
· เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก                                           
· เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก           
· เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก                                                                                                                                                  
2.ในสถานศึกษาปฐมวัยสามารถดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองในลักษณะหรือรูปแบบใดบ้างจงอธิบายและยกตัวอย่างของกิจกรรม                                                                                 
ตอบ  จัดในรูปแบบจัดทำโครงการหรือกิจกรรม จัดค่าย ประชุม อบรมสัมมนา  เช่น โครงการสานสัมพันธ์แม่ลูก ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการจะให้ผู้ปกครองและเด็กทำกิจกรรมร่วมกัน และมีวิทยากรมาให้ข้อเสนอแนะวิธีการดูแลเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในแต่ละด้าน

3. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรในการใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครอง              
ตอบ  การใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง จะทำให้ผู้ปกครองรู้สึกเป็นกันเอง อบอุ่น รู้สึกไว้วางใจกัน เป็นมิตรที่ดีต่อกันถ้ามีปัญหาสิ่งใดจะช่วยกันแก้ไขปัญหา  ให้ข้อเสนอแนะต่อกันเป็นแบบกัลยาณมิตร ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดูแลช่วยเหลือลูกของเพื่อน ของผู้ปกครองในห้องเรียนเดียวกัน จะทำให้เกิดผลดีทั้งต่อตัวเด็ก ผู้ปกครองและโรงเรียน

4.องค์ความรู้ที่จำเป็นในการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง                           
 ตอบ 
· การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย                                                                                        
· พัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย                                                                                           
· การเพิ่มศักยภาพทางการอยู่ร่วมกันของเด็กปฐมวัย                                                               

· การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างเด็กปฐมวัยกับผู้ปกครอง

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น