วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559


โครงการอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ..2559  เวลา 09.00 – 12.00 
ณ ศูนย์การเรียนชุมชนจันทรเกษม  กศน.แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
หลักการและเหตุผล
ตามที่รศ.นพ.สังคม จงพิพัฒน์วณิชย์  หัวหน้าหน่วยโภชนาการ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านว่าโภชนาการที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกโดยเฉพาะเด็กวัยอนุบาลคือ1-6 ปี ซึ่งมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งร่างกายและสมอง โดยเฉพาะพัฒนาการทางสมองในช่วง 3 ขวบปีแรก การให้เด็กได้รับอาหารที่เหมาะสม มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนเพียงพอ จึงเป็นการวางรากฐานชีวิตที่ดีสำหรับเด็กทั้งปัจจุบันและอนาคตการเติบโตของเด็กมีปัจจัยหลายด้าน ทั้งด้านพันธุกรรม ฮอร์โมน ภาวะโภชนาการ โรคทางกาย และสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูการได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการจะช่วยให้ร่างกายเด็กเจริญเติบโตได้เต็มศักยภาพ
          ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมให้กับลูกในวัยระหว่าง 1-6 ปีหรือก่อนวัยเรียนเด็กควรได้รับอาหารมื้อหลัก 3 มื้อที่มีคุณค่าครบ 5 หมู่และหลากหลาย อาหารว่างไม่เกินวันละ 2 มื้อ และอย่างลืมให้เด็กดื่มนมวันละ 2-3 แก้วต่อวัน ในอาหารของลูกอย่าขาดโอเมก้า3 และ โอเมก้า6 สารอาหาร 2 ชนิดนี้ร่างกายสร้างเองไม่ได้ต้องได้รับจากสิ่งที่ให้ลูกทานการขาดโอเมก้า3 และโอเมก้า6 ที่อยู่ในปลาและเนื้อสัตว์จะทำให้ลูกไม่เติบโต ส่วนไขมันก็เป็นสิ่งสำคัญต่อระบบสมองควรรับได้ไขมันที่เป็นไขมันดีที่มีอยู่ในปลา โดยเฉพาะปลาทะเล
          ฝึกให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อร่างกายจะได้รับสารอาหารครบถ้วน และเพียงพอกับความต้องการของร่างกายในการปรุงอาหารของพ่อแม่ในแต่ละมื้อถ้าเป็นไปได้ควรให้เด็กได้เข้าร่วมและให้เขาช่วยเหลือในสิ่งที่เหมาะสมกับวัย เช่น การเตรียมผัก การหั่นผลไม้ การหยิบจับอุปกรณ์ การให้เด็กผสมเครื่องปรุง หรือเติมเครื่องปรุงลงในภาชนะปรุงอาหาร ให้เด็กได้สังเกตด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งการให้เด็กได้ดูการเปลี่ยนแปลง ได้ดมกลิ่นอาหาร ชิมรสชาติต่างๆ ซึ่งจะทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงในขณะอยู่กับครอบครัว เป็นการสร้างพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมให้กับเด็กนอกจากนี้ พ่อแม่อาจให้ลูกมีโอกาสในการเลือกรายการอาหารในแต่ละมื้อ หรือให้เขามีส่วนร่วมในการเลือกซื้อกับข้าวที่จะนำมาปรุงอาหาร ทำให้เขามีความภาคภูมิใจ และมีความเชื่อมั่น นำไปสู่การสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ สิ่งสำคัญที่สุดที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรตระหนักคือ ความรู้ในเรื่องอาหารและโภชนาการ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ลูกมีภาวะโภชนาการที่ดีและช่วยแก้ปัญหาในด้านสุขอนามัยของเด็กได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ความรู้ผู้ปกครองในเรื่องอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย
2.เพื่อให้เด็กได้รับประทานอาหารครบ5หมู่และมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
3.เพื่อให้เด็กได้รับโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย
เนื้อหา
การให้ความรู้ผู้ปกครองในเรื่องอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย มีหัวข้อดังต่อไปนี้
  • โภชนาการสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน
  • การฝึกบริโภคนิสัยที่ดี
  • เด็กจะกินอาหารได้ดีในเมื่อ
  • อาหารที่เหมาะสำหรับเด็กวัย 1-3 ปี
  • ปัญหาการกินและการแก้ไขของเด็กวัย 1-3 ปี


เป้าหมาย
เป้าหมายเชิงปริมาณ
ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย จำนวน 10 คน
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
- ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของโภชนาการของลูก
- ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในโครงการ

วัน เวลา และสถานที่
วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ..2559  เวลา 09.00 – 12.00 . ณ ศูนย์การเรียนชุมชนจันทรเกษม  กศน.แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

รูปแบบการจัดโครงการ/เทคนิค
การอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยใช้เทคนิคการบรรยายและการสาธิต ประกอบด้วยการเล่นเกมการศึกษาจัดหมวดหมู่พาสนุกและกิจกรรม Cooking เมนูผักชุบแป้งทอด  


การประเมินติดตามผล
  • แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครอง
  • แบบสะท้อนตนเอง                                                                                                                   
งบประมาณที่ใช้ในโครงการ      
  • 1,671 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของโภชนาการของลูกทำให้เด็กได้รับประทานอาหารครบ5หมู่ ทำให้เกิดสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
  • ผู้ปกครองเห็นความสำคัญในการรับประทานอาหารของลูกและทำให้ลูกได้รับอาหารเหมาะสมตามวัย

 ผู้รับผิดชอบโครงการ
  1. นางสาวประวีณา     หงสุด           ประธาน
  2. นางสาวเรณุกา  บุญประเสริฐ       กรรมการ
  3. นางสาวภัทรภร  ญาติสังกัด         กรรมการ
  4. นางสาวศิริพร  บุญประคม            กรรมการ
  5. นางสาวนภัสสร  คล้ายพันธ์          กรรมการ
  6. นางสาววิจิตรา  เสริมกลิ่น            กรรมการ
  7. นางสาวอรณัฐ  สร้างสกุล            กรรมการและเลขานุการ
ภาพกิจกรรมต่าง ๆ 






การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจในการทำโครงการครั้งนี้อย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจทำโครงการครั้งนี้อย่างเต็มที่และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
โดยภาพรวมของการจัดทำโครงการในครั้งนี้ ทำให้ดิฉันสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในอนาคตและรู้จักการวางแผนในการทำงานเป็นทีม



การบันทึกครั้งที่ 17
วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์นัดเรียนรวมกันทั้งสองเซคเพื่อพูดคุยเรื่องรูปเล่มโครงการ พร้อมบอกแนวข้อสอบปลายภาคและอาจารย์แจกสีเมจิกให้นักศึกษาคนละ 1 แพ็คและแจกของรางวัลสำหรับคนที่ได้ดาวเด็กดี



ปรึกษาการจัดเรียงรูปเล่มโครงการ



รางวัลเด็กดี

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 16
วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มไปเตรียมสื่อต่าง ๆ ที่จะไปจัดโครงการ





การบันทึกครั้งที่ 15
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

ปรึกษาโครงการกับอาจารย์ เพื่อไปจัดในสัปดาห์หน้า




วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 14
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ชี้แจงเรื่องโครงการให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มฟังพร้อมทั้งรายละเอียดต่างๆในการทำโครงการ





การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์ชี้แจงในการทำโครงการและจดบันทึก
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจฟังและไม่คุยกัน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น


วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 13
วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2559 

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมาพูดเกียวกับปัญหาที่พบเจอในการไปแจกแบบสอบถามความต้องการของผู้ปกครองเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าเจออุปสรรคอะไรกันบ้าง

กลุ่มที่ 1
 

กลุ่มที่ 2
 

กลุ่มที่ 3
 

กลุ่มที่ 4
 

กลุ่มที่ 5
 


กิจกรรมต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มรวบรวมแบบสอบถามและวิเคราะห์แบบสอบถามความต้องการของผู้ปกครอง ตั้งแต่ข้อมูลทั่วไปจนถึงข้อคำถามเพื่อเรียงลำดับความต้องการของผู้ปกครองว่าผู้ปกครองต้องการรู้เรื่องใดมากที่สุด เพื่อเป็นการตัดสินใจเลือกทำโครงการให้ความรู้ผู้ปกครองต่อไป





การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานในแต่ละกลุ่ม
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจฟังและไม่คุยกันในขณะเพื่อนนำเสนองาน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น